วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีการสอน



วิธีการสอนแบบบรรยาย  (Lecture Method)


ความหมาย  

                   การบรรยาย คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถามแล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง การ บรรยายเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ใช้กันมานานในการเรียนการสอนในระดับอุดม ศึกษาเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก สามารถสอนหรือบรรยายให้ผู้ฟังได้ทีละมากๆ โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอความรู้ครั้งละมากๆ โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงจัดเป็นวิธีสอนที่ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้ เป็นอย่างดี วิธีนี้จะเหมาะสมมากหากผู้บรรยายมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความรู้ในเนื้อหานั้นเป็นพิเศษ และต้องการให้ผู้ฟังได้คำอธิบายขยายความ หรือแนวคิดที่แปลกใหม่เป็นข้อมูลที่หาอ่านจากเอกสารทั่วไปไม่ได้


วัตถุประสงค์

     1. เพื่อผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนเนื้อหาสาระความรู้ที่มีจำนวนมากในเวลาที่จำกัด
     2. เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียนซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
     3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาด้วยตนเอง
     4. เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญ


องค์ประกอบของการสอน
     1. มีเนื้อหาสาระ หรือ ข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
     2. มีการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย)
     3. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย


ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย
    1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการ
ต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามหลักการ
    2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม


ขั้นตอนการสอน

1. ขั้นเตรียมการสอน ประกอบด้วย
    1.1 วินิจฉัยผู้เรียน โดยพิจารณาถึงพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์เดิม ความสามารถของผู้เรียน อาจใช้วิธีพูดคุย ซักถาม หรือแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเตรียมเนื้อหาและวิธีการสอน
    1.2 เตรียมเนื้อหา โดยพิจารณาถึงความละเอียด ลึกซึ้ง มากน้อย และตามลำดับของเนื้อหา ให้เหมาะสมกับเวลาและลักษณะของผู้เรียน
    1.3 เตรียมคำถาม เพื่อใช้ถามผู้เรียนระหว่างการบรรยาย จะช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัวและสนใจได้ดีขึ้น
    1.4 เตรียมสื่อการเรียนการสอน โดยเตรียมสื่อให้พร้อมอยู่ในสภาพใช้การได้ดี อาจเป็น สไลด์ แผ่นใส ภาพ ฯลฯจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
    1.5 ขั้นเตรียมการวัดและประเมินผล อาจจัดทำเป็นการทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดดูว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือมากน้อยเพียงไร


2. ขั้นสอน ประกอบด้วย

2.1 ขั้นนำ อาจใช้วิธี
    1) ซักถามพูดคุยกับผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
    2) ทบทวนการบรรยายในครั้งก่อนเพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องใหม่

2.2 ขั้นอธิบาย เป็นขั้นสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ผู้สอนควร ได้ดำเนินการ ดังนี้
    1) บอกโครงเรื่อง เครือข่ายของเนื้อหา และแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียน
    2) อธิบายให้ชัดเจนตามลำดับเนื้อหาอย่างต่อเนื่องกัน
    3) สังเกตปฏิกิริยาตลอดเวลาเพื่อการย้ำหรือหยุดทบทวนใหม่
    4) ถามคำถามในบางตอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
    5) ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อเพิ่มความแจ่มแจ้งในบทเรียน
    6) ใช้น้ำเสียง บุคลิกภาพ ท่าทีการพูดอธิบาย การใช้ภาษา อารมณ์ขันที่เหมาะสม

2.3 ขั้นสรุป เป็นการปิดท้ายชั่วโมงการบรรยาย อาจใช้วิธี
    1) สรุปโยงเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
    2) ตั้งปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์
    3) ฝากปัญหาให้ผู้เรียนไปคิดต่อ
    4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนไดซักถามปัญหา
    5) มอบหมายงายให้ผู้เรียนไปค้นคว้าต่อเพิ่มเติม
    6) บอกล่วงหน้าถึงเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งต่อไป

3. ขั้นติดตามผล ประกอบด้วย

3.1วัดและประเมินผลผู้เรียน โดยอาจใช้วิธี
    1) ตรวจสมุดบันทึกที่ผู้เรียนจดบรรยาย
    2) ถามคำถามในเนื้อหาที่บรรยาย
    3) ให้ทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพิ่มเติม

3.2วัดผล ประเมินผลผู้สอน โดยอาจใช้วิธี
    1) จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เรียนได้ทราบความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการสอน การอธิบาย การใช้น้ำเสียง บุคลิกท่าทาง
    2) ให้เพื่อนครูได้เข้าสังเกตการณ์สอน แล้วให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการสอน
    3) บันทึกการบันยายของตนแล้วนำไปพิจารณา ประเมิน



ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย

    1. ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้กับผู้เรียนได้จำนวนมาก
    2. ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่เป็นจุดเด่นจากตำราหลายๆ เล่มมาประมวล บูรณาการไว้ด้วยกันในการ บรรยาย
    3. สำหรับเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อน ผู้เรียนได้ฟังบรรยายแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่า และอาจไม่เข้าใจ
    4. ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะจากผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนดีขึ้น
    5. ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว
    6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก รับรู้เรื่องราวได้โดยตรง
    7. เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน
    8. ฟังการบรรยายก็เข้าใจง่ายกว่าค้นหาเอง



ข้อเสียของการสอนแบบบรรยาย

     1. ถ้าใช้บ่อยๆ โดยไม่พิจารณาความเหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะผู้เรียนมีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
     2. ไม่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ซึ่งเป็นความสามารถทางปัญญาชั้นสูง
     3. ไม่ค่อยเกิดการพัฒนาด้านเจตคติและทักษะพิสัย
     4. เป็นการสอนที่เน้นครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
     5. ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร
     6. ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ
     7. ครูควรแสดงท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวบ้างพอสมควรอย่าให้มากเกินไป
     8. ครูควรบรรยายจากข้อมูลไปหาข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก
     9. ควรมีการซักถามเด็กบ้างระหว่างที่บรรยายเช่น ให้ช่วยออกความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น
    10. เสียงดังชัดเจนมีการเน้นสูงต่ำเป็นจังหวะ
    11. ใช้ภาษาและคำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ
    12. ครูควรใช้รูปภาพหรือวัสดุอื่นประกอบคำอธิบาย
    13. เป็นวิธีการสอนผู้เรียนมีบทบาทน้อยจึงทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย
    14. เป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล

อ้างอิง : yupawanthowmuang.wordpress.com



คลิป VDO 





วิธีการสอนแบบกรณีศึกษา


              ลีลาการสอนอีกลีลาหนึ่ง ที่เห็นว่าคุณครูน่าจะนำมาสอน เพราะถ้าผู้เรียนสามารถเรียนรู้จนเกิดทักษะการเรียนรู้หรือเกิดลีลาการเรียนรู้ได้ตั่งที่เรียนร่วมกับคุณครูแล้ว เชื่อว่าผู้เรียนจะสามารถนำลีลาการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง ลีลาการเรียนรู้ดังกล่าวนี้คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case Study) ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเจาะลึกเฉพาะเรื่อง เฉพาะงานที่ผู้เรียนสามารถออกไป สังเกต ศึกษา สืบค้น และสอบค้น ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในโรงงานหรือในสถานประกอบการอาชีพ และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ตามที่ต้องการเรียนรู้ได้

             ฟังชื่อ กรณีศึกษาแล้วอาจจะคิดว่าวิธีการจัดกิจกรรมคงจะยาก เพราะชื่อแปลกและเหมือนกับกรณีศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ซึ่งความจริงแล้วมันก็ใช่นั้นแหละ เพราะการเรียนรู้แบบกรณีศึกษานั้น ถ้าเปรียบเด็กก็เหมือนกับแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องสืบค้นประวัติความเป็นมาย้อนหลัง จนถึงปัจจุบันและศึกษารายละเอียดปลีกย่อยแต่ละด้านจนได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจแล้วจึงจะพอ เพราะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาสรุปได้จนรู้แบบรู้จริงในเรื่องนั้นๆ ที่อาจจะคาดการณ์สู่อนาคตได้

               ในการเรียนรู้แบบกรณีศึกษานี้ คุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเดินออกจากห้องเรียนไปรับรู้หรือเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจาก นอกรั้วโรงเรียน เรียนรู้ของจริงจากแหล่งเรียนรู้จริงแบบสามารถลูบคลำสัมผัสเรียนรู้จากเรื่องราวที่เป็นจริง ด้วยชีวิตแห่งความเป็นจริงได้ด้วยตนเอง

                การจัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างนี้
ผู้สอนสามารถจัดให้ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้ เจาะลึกแบบโครงงาน (Projet work) หรือ เรียนรู้แบบ Story Line ได้อย่างดี ขอเพียงแต่คุณครูมอบความไว้วางใจให้ผู้เรียนได้ลงมือ วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ออกไปปฏิบัติการ สืบสาวราวเรื่อง ที่ต้องการจะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

วิธีการที่ผู้เรียนออกไปสืบค้นหาความรู้จากโรงงาน จากแหล่งเรียนรู้ ที่ตนใคร่จะเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ด้วยตนเองนั้น เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ที่ผู้เรียนจะได้ทั้ง
  • วิธีการเรียนรู้ของภูมิปัญญาที่ผู้เรียน 
  • องค์ความรู้ ที่ภูมิปัญญาถ่ายทอดให้ผู้เรียนรู้ 
  • ความรู้สึก ต่อสิ่งที่ผู้บอกเล่าถ่ายทอดให้ผู้เรียนรู้

        

          องค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ คือ ความรู้แท้ที่มีอยู่ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะสามารถถ่ายทอดให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ และสำหรับตัวผู้เรียนเองนั้น ก็จะเกิดองค์ความรู้ในด้าน
  • วิธีการเรียนรู้ 
  • องค์ความรู้ที่สามารถศึกษาเรียนรู้ได้มาด้วยตนเอง 
  • ความรู้สึกต่อวิธีการเรียนรู้
              สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ได้ทั้ง 3 ประการ คือความรู้แท้ ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ยั่งยืน ฝังใจ ติดตัวผู้เรียนอยู่ได้นานเพราะเป็นประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมาด้วยตนเอง อีกทั้งผู้เรียนก็จะเกิด
  • วิธีการเรียนรู้ใหม่ 
  • ความรู้ใหม่ 
  • คำตอบใหม่
                   

                  การเรียนรู้แบบกรณีศึกษานี้ ผู้เรียนจะต้องตั้งประเด็นคำถาม หรือ ตั้งปัญหา ที่ตนใคร่รู้ขึ้นมา พยายามสืบเสาะหาแหล่งเรียนรู้ แล้วไปเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้นจะเป็นการเรียนรู้แบบคนเดียว หรือเรียนเป็นกลุ่มก็ได้ทั้งนี้อยู่ที่ความต้องการของผู้เรียน

การตั้งประเด็นคำถามนั้น ผู้เรียนจะต้องเน้นย้ำถึงการสืบค้นหาสาเหตุ ความเป็นมาของปัญหา เงื่อนไขหรือปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาที่แท้จริง จนส่งผลกระทบให้เกิดเรื่องหรือปัญหาขึ้นมาโดยที่ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบ แล้วนำข้อมูลจากหลากหลายแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนสืบค้นได้ มาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปเป็นความรู้ในเรื่องนั้น

สิ่งที่คุณครูผู้สอนจะต้องตระหนัก คือ เมื่อผู้เรียนตั้งคำถามแล้วนำไปสืบค้นคำตอบจากแหล่งเรียนรู้นั้น คุณครูจะต้องคอยกระตุ้นให้ผู้เรียน สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายแหล่ง ในแต่ละประเด็นคำถาม อย่ายอมรับข้อมูลที่มาจากแหล่งเรียนรู้เพียงแหล่งเดียว เพื่อสอนวิธีการสืบค้นและวิธีการเก็บข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ และต้องชี้ให้เห็นถึงความต่างของข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งเรียนรู้เดียวกัน หลากหลายแหล่งเรียนรู้ ว่าในแต่ละคำตอบนั้นมีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ความน่าเชื่อถือของข้อมูลเป็นอย่างไร นี่คือวิญญาณของการเรียนรู้


การตั้งประเด็นคำถามแบบเจาะลึก เพื่อศึกษาความเป็นมาของปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องพยายามตั้งประเด็นเพื่อ
  1. ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมนั้นว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร มีความคิดค่านิยม จริยธรรมและความเชื่ออย่างไร ซึ่งเป็นคำถามเพื่อสืบค้นข้อมูลเชิง มานุษวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยา ศาสนา และจริยธรรม เช่น เรื่อง ตลาดชุมชนน่าจะถามคำถามว่า
    • สมัยคุณปู่ คุณย่าเล็กๆ อยู่นั้นคนในชุมชนมีความเป็นอยู่กันอย่างไร 
    • ตอนนั้นคนในชุมชนใช้วิธีการใดเกี่ยวกับอาหารการกิน เช่น พวกพืช ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ต่างๆ ข้าว ขนม 
    • ทำไมคนในชุมชนจึงใช้วิธีการนั้น 
    • คุณปู่ คุณย่ามีความรู้สึกอย่างไรที่ได้อยู่ในชุมชนในสภาพอย่างนั้น 
    • ชีวิตของชาวบ้านในชุมชนสมัยนั้นมีความเป็นอยู่อย่างนั้น เป็นอย่างไรบ้าง 
    • มีสิ่งใดบ้างที่พอจะบ่งบอกถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคสมัยนั้น 
  1. สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ผู้คนในสังคมนั้นอาศัยอยู่เป็นอย่างไร สืบสวนจากภูมิปัญญาหรือผู้เฒ่าในท้องถิ่นเพื่อจะถามหาข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์

  1. ชุมชนนี้มีการจัดระเบียบทางสังคมอย่างไรบ้าง คำถามนี้ต้องการรู้เรื่องราว ทางด้านการปกครอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้วิธีการ สังเกต สืบค้น สืบหาจากสภาพจริงของพฤติกรรมทางสังคมในชุมชนนั้นๆ อันเกี่ยวกับสภาพการจัดการระเบียบทางสังคม

  1. สังคมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบันอย่างไรบ้าง ข้อมูลอย่างนี้ผู้เรียนจะต้องแสวงหามาได้ด้วยวิธีการสืบหา ความจริงจากชุมชนและค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ที่ปรากฏอยู่มาสรุปเป็นข้อมูลความรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นความรู้ทางด้าน ประวัติศาสตร์
           จะเห็นได้ว่า คำตอบที่จะได้มานั้นผู้เรียนจะต้องสืบเสาะแสวงหาจากชุมชนเป็นหลัก ต้องเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ต้องศึกษาเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น จากพ่อเฒ่า แม่เฒ่า ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้ผ่านเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ มาด้วยตนเอง แล้วตกผลึกเรื่องราวเหล่านั้นเป็นความรู้ซ้อนอยู่ในตน เมื่อผู้เรียนเพียรถาม ผู้คนเหล่านั้นก็จะรำลึกแล้วเผยความรู้ที่ซ้อนอยู่นั้นมาบอกเล่า สืบทอดเป็นความรู้ใหม่ของผู้เรียนได้

           แต่สิ่งหนึ่งที่คุณครูผู้สอนพึงสำเหนียกเอาไว้คือความรู้ที่ผู้เรียนได้มานั้น ไม่มีผิด ไม่มีถูก แต่ผู้เรียนจะต้องใช้ดุลยพินิจพิจารณาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลเหล่านั้น มาสรุปเป็นข้อมูลเฉพาะตนได้

            การที่จะได้ข้อมูลใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลที่ได้มาครั้งแรกมาพิจารณาดูว่า พอไหม ซึ่งแน่นอนข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีสิ่งที่ผู้เรียนต้องการรู้อีก เรียกว่า สิ่งที่อยากรู้เพิ่ม ผู้เรียนจะต้องตั้งคำถามต่อแล้วออกไปสืบค้นหาคำตอบมาสรุป และพิจารณาค้นหาสิ่งที่อยากรู้เพิ่มอีก สร้างคำถามแล้วไปสืบเสาะหาอีกทำซ้ำๆ อยู่อย่างนี้จนกระทั่ง ข้อมูลถึงจุดอิ่มตัว ก็เป็นอันว่า เพียงแค่นี้พอแล้ว นี่คือวิธีการเรียนรู้การเก็บข้อมูลความรู้ 


ก่อนที่ผู้เรียนจะตั้งประเด็นคำถามนำไปสืบค้นข้อมูลจากชุมชน ผู้เรียนจะต้องถามตนเองก่อนว่า
  1. เราจะเก็บข้อมูลในด้านใดบ้าง 
  1. ข้อมูลแต่ละด้านนั้นเราควรเก็บในเรื่องใดบ้าง 
  1. ข้อมูลแต่ละด้านเราควรเก็บจากแหล่งข้อมูลใดบ้าง 
  1. เราจะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการใด 
  1. เราจะตั้งคำถามว่าอย่างไรบ้าง 
  1. เราจะเตรียมตัวอย่างไรในการออกไปปฏิบัติการเก็บข้อมูลในชุมชน
            จะเห็นได้ว่าประเด็นทั้ง 6 ประเด็นนั้นล้วนแต่เป็นเรื่องของการวางแผนการเรียนรู้ และเป็นการเตรียมการทำงานอย่างมีแผนงาน ซึ่งถ้าหากผู้เรียนสามารถดำเนินการได้ครบถ้วนทั้ง 6 ประเด็น และฝึกปฏิบัติบ่อยๆ หลายๆ เรื่องราวแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนก็จะเก่งในการวางแผนการเรียนรู้

คุณครูลองคิดดูว่า ถ้านักเรียนของคุณครูวางแผนการเรียนรู้ได้เองในทักษะการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาแล้ว ทักษะการเรียนอื่นๆ นักเรียนจะวางแผนการเรียนได้ไหม เชื่อว่านักเรียนจะสามารถ เชื่อมโยงวิธีการเรียนรู้จากวิธีหนึ่งไปสู่อีกวิธีหนึ่งได้

การเรียนรู้แบบวิธีกรณีศึกษา เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องใช้ความสามารถของตนเองในการแก้ปัญหาทุกอย่างที่ตนผจญในห้วงเวลาที่ออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลในชุมชน เช่น ผู้เรียนเตรียมคำถามจะไปถาม คนๆ หนึ่ง แต่เขาไม่อยู่จะทำอย่างไร จึงจะกลับมาโดยว่างเปล่า ตรงนี้ผู้เรียนด้วยคิดหาวิธีการแก้ปัญหา หรือในกรณีที่คำถามที่เตรียมไปนั้นหมดลง แต่ผู้ตอบให้ความรู้ดี จะถามต่ออย่างไรอีกเรื่องราวเหล่านี้ผู้เรียนจะต้องคิดหาวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง นี่คือการนำความรู้เดินของตนหรือความสามารถเฉพาะตนมาใช้ เป็นปัญญาของผู้เรียนระดับหนึ่งด้วย และนี่คือ บทเรียนชีวิตที่ผู้เรียนจะค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

            สำหรับเรื่องราวที่จะนำมาตั้งเป็นเรื่องของกรณีศึกษานั้นมีมากมาย เช่น กรณีศึกษานิทานพื้นบ้าน กรณีศึกษายาสมุนไพรในชุมชน กรณีศึกษาตลาดนัดชุมชน กรณีศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชน และเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้จากชุมชน และบางเรื่องบางราวคุณครูสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ได้

           เราจะเห็นได้ว่าคำบางคำ หรือเรื่องบางเรื่องที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ เช่นคำว่า อุบัติเหตุ ซึ่งนักเรียนต้องการความเข้าใจเชิงลึกกว่าคำแปลธรรมดา ผู้เรียนก็สามารถสร้างคำถามไปสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองได้ และคำตอบที่ได้มาก็จะได้แบบบูรณาการ

           การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกรณีศึกษานี้ นอกจากจะจัดกิจกรรมในชั้นเรียนแล้วยังสามารถจัดกิจกรรมในรูปแบบบ้านเรียนรู้ได้ โดยที่ผู้ปกครองเด็กๆ แทนที่จะนำเที่ยวที่ต่างๆ ต้องให้ลูกหลานวางแผนการเรียนรู้หรือการเที่ยว ต้องตั้งประเด็นคำถามไปค้นหาคำตอบจากการดู การสัมผัสสิ่งนั้นๆ แล้วมา
สรุป บทเรียนกันที่บ้าน ผู้เรียนก็จะรู้ทั้งตัวความรู้วิธีเรียนรู้และเกิด ความรู้สึกดีๆ ต่อการเรียนรู้ด้วย
       

อ้างอิง : beebeecom.wordpress.com

คลิป VDO 










วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)


ความหมายการสอนแบบบรรยาย

               คือกระบวนการที่ผู้สอนมุ้งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน  โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบแนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน




วัตถุประสงค์    1.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน  และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง    2.เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำ ผู้ตาม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม    3.เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ


องค์ประกอบ    1.เรื่องหัวข้อประเด็นปัญหาที่จะอภิปราย    2.ผู้อภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย    3.กระบวนการอภิปราย    4.ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการอภิปราย


ประเภทของการอภิปราย    การอภิปรายมีรูปแบบหรือประเภทการจัดการอภิปรายหลากหลายรูปแบบอาทิเช่น    การอภิปรายเป็นคณะ    การอภิปรายแบบฟอรั่ม    การอภิปรายแบบสัมมนา    การอภิปรายแบบระดมสมอง    การอภิปรายแบบโต๊ะกลม    การอภิปรายแบบโต้วาที





ขั้นตอนการเรียนรู้


     1.ขั้นตอนการอภิปรายกำหนดหัวข้อ วัตถุประสงค์ รูปแบบอภิปรายผู้สอนควรกำหนดบทบาทให้ผู้เรียนสื่อการเรียน อาจจะเป็นเอกสารหรือวัสดุต่างๆที่จำเป็นสถานที่ อาจจะเป็นห้องเรียนซึ่งผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย


     2.ขั้นบรรยายบอกหัวข้อหรือปัญหาและวัตถุประสงค์บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์ดำเนินการอภิปราย


     3.ขั้นสรุปสรุปผลการอภิปราย ผู้แทนกลุ่มสรุปผลการอภิปรายแล้วนำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุม


     4.ขั้นสรุปบทเรียนผู้สอนและผู้รีเยนร่วมกันสรุปสาระสำคัญและแนวคิดที่ได้จาการอภิปราย

     5.ขั้นประเมินผลการเรียนผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้


ข้อดี1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ3.ผู้เรียนไม่เบื่อ เพราะมีการปฏิบัติตลอดเวลาเรียน
 


ข้อจำกัด1.ใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง2.ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น3.ผู้สอนอาจเกิดความขับข้องใจ ถ้าการอภิปรายครั้งนั้นไม่สามารถสรุปผลในรูปที่ผู้สอนปรารถนา

คลิป VDO 







วิธีการสอนแบบโครงการ



ความหมาย

                 เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้ว่างโครงการและดำเนินงาน ให้สำเร็จตามโครงการนั้น นับว่าเป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง เด็กจะทำงานด้วยการตั้งปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง เชื่อ โครงการรักษาความสะอาดของห้องเรียน  (สุพิน บุญชูวงค์,2538 หน้า 59)
                    เป็น กระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่มเป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจ อยากรู้ อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่ง ความรู้เบื้อง สามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์        การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
         
1. มีประสบการณ์โดยตรง
          2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
          3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน
          4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
          5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
          6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
          7. ฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง

            การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น กล่าวคือ
         
ความรู้ความจำ (Knowledge)
          ความเข้าใจ (Comprehension)
          การนำไปใช้ (Application)
          การวิเคราะห์ (Analysis)
          การสังเคราะห์ (Synthesis)
          การประเมินค่า (Evaluation)

          และ ยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของการเรียน รู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงาน โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้

กระบวนการของกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
กระบวนการแบ่งเป็น 3 ระยะใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
ระยะที่ 1 การเริ่มต้นโครงงาน 
             เป็น ระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต/สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน จากนั้นตกลงร่วมกัน เลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาอย่างละเอียด ผู้สอนสร้างความสนใจให้เกิดกับผู้เรียนซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจศึกษาเรื่องจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่หรือผู้รู้ จากประสบการณ์ของผู้เรียน/ผู้สอน จากเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จากการเล่นของผู้เรียน จากความคิดที่เกิดขึ้น จากวัตถุสิ่งของที่ผู้สอนนำมาในห้องเรียน หรือจากตัวอย่างโครงงานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว เป็นต้น เมื่อเกิดความสนใจแล้วก็จะถึงการกำหนดหัวข้อโครงงาน โดยนำเรื่องที่ผู้เรียนสนใจมาอภิปรายร่วมกัน แล้วกำหนดเรื่องนั้นเป็นหัวข้อโครงงาน ทั้งนี้จะต้องคำนึงว่าการกำหนดหัวข้อโครงงานนั้นจะกระทำหลังจากการตรวจสอบ สมมติฐานเสร็จสิ้นแล้ว

ระยะที่ 2 ขั้นพัฒนาโครงงาน 
            เป็น ขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหา ที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้ แล้วตั้งสมมติฐานมาตอบคำถามเหล่านั้น ทดสอบสมมติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ จนค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ตามขั้นตอนดังนี้
            1 ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
            2 ผู้เรียนตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
            3 ผู้เรียนตรวจสอบสมมติฐานเบื้องต้น
            4 สรุปข้อความรู้จากผลการตรวจสอบสมมติฐาน
           ใน กรณีที่ผลการตรวจสอบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม สิ่งที่ไม่ควรกระทำคือการตำหนิหรือกล่าวโทษ ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกำลังใจจนสามารถตั้งสมมติฐานใหม่ได้ ในกรณีที่ผลการตรวจสอบเป็นไปตามสมมติฐาน ให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้จากการค้นพบด้วยการลงมือปฏิบัติของผู้เรียนเอง เมื่อได้องค์ความรู้ใหม่แล้ว ผู้เรียนจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ในการทำกิจกรรมตามความสนใจต่อไปได้ ผู้เรียนอาจใช้ความรู้ที่ค้นพบเป็นพื้นฐานของการกำหนดประเด็น ปัญหาขึ้นมาใหม่เพื่อ กำหนดเป็นโครงงานย่อย ศึกษารายละเอียดในเรื่องนั้นต่อไปอีก

ระยะที่ 3 ขั้นสรุป
           เป็น ระยะสุดท้ายของโครงงานที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบของปัญหาแล้ว และได้แสดงให้ผู้สอนเห็นว่าได้สิ้นสุดความสนใจในหัวข้อโครงงานเดิม และเริ่มหันเหความสนใจไปสู่เรื่องใหม่ ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแสดง ให้เห็นถึงความสำเร็จของการทำงานตลอดโครงงานแก่คนอื่นๆ มีกิจกรรมที่ผู้สอนให้ผู้เรียนดำเนินการในขั้นตอนนี้ ดังนี้
          1. ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็กๆ
          2. ผู้เรียนนำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผงโครงงาน) ให้ผู้สนใจรับรู้ สรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
       1.นักเรียนมีความสนใจเพราะได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ
       2.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานอย่างมีแผน และให้รู้จักประเมินผลงานของตนเอง
       3.ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามวีธรรมชาติ และให้มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
       4.ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักแก้ปัญหา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเผชิญสภาพสังคมจริงๆ

ข้อจำกัด
        1.เสียเวลามากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
        2.ประสบการณ์ในชีวิตจริงหลายอย่างไม่สามารถจะวางแผนและทำกิจกรรมได้
        3.ถ้าครูไม่มีความรู้เพียงพอ การสอนจะประสบความล้มเหลว
        4.อาจทำให้นักเรียนได้รับความรู้ที่เป็นหลักวิชาไม่เพียงพอ


อ้างอิง : http://thida3134.wordpress.com/

คลิป VDO 





วิธีการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก



                การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Base Learning: PBL) เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพิ่มทักษะในการแก้ปัญหา สามารถเพิ่มทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และพัฒนาทักษะในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการนำการเรียนการสอนดังกล่าวไปใช้อย่างกว้างขวาง ประมาณ 30 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทยมหาวิทยาลัวที่นำไปใช้ในคณะแพทย์ศาสตร์มาหลายปี คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอบแก่นเป็นต้น
              

                การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจากการให้นิยามของ Boud, d. & Felletti G. ที่กล่าวว่า “การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นและเน้นที่กิจกรรมของนักศึกษา PBL ไม่ใช่วิธีการเรียนการแก้ปัญหาที่เพิ่มเข้าไปในหลักสูตรเดิมอย่างๆ ง่ายๆ แต่เป็นวิที่จัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้น โดยอาศัยปัญหาจริงที่เป็นจริงในการปฏิบัติของวิชาชีพนั้นเป็นตัวแกน หลักสูตร PBL จะเริ่มต้นด้วยการให้ปัญหาที่เป็นสถานะการณ์จริงแก่นักศึกษาก่อน แทนที่จะให้ความรู้ของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจริง เพื่อแก้ปัญหาโดยวิธีนี้ หลักสูตรและการสอนจะนำนักศึกษาไปสู่การแสวงหาวิชาความรู้และทักษะด้วยตนเอง โดยผ่านขั้นตอนการแก้ปัญหาที่จัดไว้ โดยอาศัยวัสดุการเรียนการสอน และครูที่กำหนดให้ตามหลักสูตร

จากนิยามจะเห็นว่าบทบาทของการเรียนการสอนเน้นที่ผู้เรียนไม่ใช่ผู้สอน

ขั้นตอนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก                 นักเรียนจะได้รับโจทย์ปัญหาซึ่งมักจะเป็นสถานะการณ์จริง ที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังจะสอน โดยครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกประมาณกลุ่มละ 8-10 คน โดยมีผู้ช่วย (Tutor) อยู่ 1 คนแล้วดำเนินขั้นตอนดังต่อไปนี้1. ทำความกระจ่างในคำศัพท์และแนวคิด2. ระบุปัญหา3. วิเคราะห์ปัญหา และตั้งสมมุติฐาน4. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้5. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งวิทยากรภายนอก6. สังเคราะห์และทดสอลข้อมูลใหม่พร้อมลงสรุปความรู้ทั่วไป



โดยสรุปเทคนิคระบบการศึกษาแลบPBL ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ1. ยึดถือนักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้2. เรียนโดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มย่อย (small group tutorial)3. ใช้ปัญหาจริงเป็นตัวกระตุ้นการแก้ปัญหา (problem-solving based) และเป็นจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้
4. มีการบูรณาการของเนื้อหาวิชาต่างๆ


อ้างอิง :  http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5127046/link18-5.html

คลิป VDO 







วิธีสอนการใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) 


             วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation) 
             ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 370-373) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้ สถานการณ์จำลอง  (Simulation)   สรุปได้ดังนี้


ก.ความหมาย
            วิธีสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลอง คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง


ข. วัตถุประสงค์
           วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริงและเกิดความเข้าใจในสถานการณ์หรือเรื่องที่มีตัวแปรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน


ค. องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ ของวิธีสอน
- มีผู้สอนและผู้เรียน
- มีสถานการณ์ ข้อมูล บทบาท และกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง
- ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น
- ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
- การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
- มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูลและกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น
  พฤติกรรมการเล่นและผลการเล่น  เพื่อการเรียนรู้
- มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน


ง. ขั้นตอนสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ ของการสอน
- ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลอง
- ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
- ผู้เรียน เลือกบทบาทที่จะเล่น หรือผู้สอนกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
- ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กำหนด
- ผู้สอนและผู้เรียน ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น
- ผู้สอนและผู้เรียน สรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเล่น
- ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน



ค. เทคนิค ข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ

การเตรียมการ
          ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลองที่จะใช้สอน โดยอาจสร้างขึ้นเองหรืออาจเลือกสถานการณ์จำลองที่มีผู้สร้างไว้แล้ว ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด เมื่อมีสถานการณ์จำลองแล้ว  ผู้สอนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในสถานการณ์จำลองนั้นและควรลงเล่นด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ในการเล่น จะได้จัดเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขไว้ให้พร้อม
         การนำเสนอสถานการณ์จำลอง   เนื่องจากสถานการณ์จำลองส่วนใหญ่ จะมีความซับซ้อนพอสมควรไปถึงระดับมาก การนำเสนอสถานการณ์ บทบาท และกติกา จำเป็นต้องมีการเตรียมการอย่างดี ควรนำเสนออย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่สับสน และควรจัดข้อมูลทุกอย่างไว้ให้พร้อม ควรเริ่มด้วยการบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว้างๆ แก่ผู้เรียนว่า การเล่นในสถานการณ์จำลองนี้จะให้อะไรและเหตุใดจึงมาเล่นกัน ต่อไปจึงค่อยให้ภาพรวมของสถานการณ์จำลองทั้งหม แล้วจึงให้รายละเอียดที่จำเป็น เช่น กติกา บทบาท เมื่อทุกคนเข้าใจพอสมควรแล้ว จึงให้เล่นได้การเลือกบทบาท 
          เมื่อผู้เรียนเข้าใจภาพรวมและกติกาแล้ว ผู้เรียนทุกคนควรได้รับบทบาทในการเล่น ซึ่งผู้เรียนอาจเป็นผู้เลือกเอง หรือในบางกรณีผู้สอนอาจกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน 
การเล่นในสถานการณ์จำลอง ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ผู้สอนควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนและจดบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการการเรียนเรียนรู้ของผู้เรียน ให้คำปรึกษาตามความจำเป็น รวมทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
          การอภิปราย การอภิปรายควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริง สถานการณ์เป็นอย่างไรและอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งผู้เรียนมักได้เรียนรู้จากการเล่นของตนในสถานการณ์นั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้เรียนรู้ความเป็นจริงแล้ว การอภิปรายขยายต่อไปว่า เราควรจะให้สถานการณ์นั้นคงอยู่ หรือ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ 




ง. ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ 

ข้อดี
- เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ เกิดความเข้าใจ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่เห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง
- เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก ผู้เรียนได้เรียนอย่างสนุกสนาน การเรียนรู้มีความหมายตู่อตัวผู้เรียน
- เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะกระบวนการต่างๆจำนวนมาก เช่น กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการคิด เป็นต้น


ข้อจำกัด
- เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องมีวัสดุ อุปกรณ์ และข้อมูลสำหรับผู้เล่นทุกคน และสถานการณ์จำลองบางเรื่องมีราคาแพง
- เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก เพราะต้องให้เวลาแก่ผู้เล่นในการเล่นและการอภิปราย
- เป็นวิธีการสอนที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียดและลองเล่นด้วยตนเองและในกรณีที่ต้องสร้างสถานการณ์เอง ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
- เป็นวิธีการสอนที่ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเอง ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ ก็จะไม่สามารถสร้างได้
- เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลาย จึงเป็นการยากสำหรับผู้สอนในการนำการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์


คลิป VDO 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น